Worship the temple worship Wat Nongwang, Khon Kaen.

จากสี่แยกประตูเมืองขอนแก่นไปตามเส้นทางถนนศรีจันทร์จะพบกับตลาดบางลำภู เมื่อเลี้ยวขวาเข้าสู่ถนนถนนกลางเมืองผ่านสถานีตำรวจและวัดกลาง ไม่ไกลกันนักประมาณ 400 เมตรเป็นที่ตั้งของวัดที่สวยและสำคัญของเมืองขอนแก่นอีกแห่งหนึ่งมีชื่อว่า วัดหนองแวง เป็นอารามหลวงและเป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองขอนแก่น ถูกสร้างขึ้นในสมัยและช่วงเวลาใกล้กันกับศาสนสถานสำคัญอีกสองแห่งคือวัดธาตุและวัดกลาง บึงแก่นนคร คนแรกมีนามว่า เท้าเพียเมืองแพนเป็นผู้ให้สร้างขึ้น  ที่ตั้งของวัดมีอาณาเขตเป็นรูป 6 เหลี่ยมล้อมรอบไปด้วยที่ตั้งของหมู่บ้านสามด้าน มีบึงแก่นนครอยู่ทางทิศตะวันออกของตัววัดซึ่งถือว่ามีชัยภูมิของวัดที่ดีและเป็นสิริมงคล วัดหนองแวงนี้เมื่อครั้งสร้างเริ่มแรกเรียกกันว่าวัดเหนือ แต่ได้รับการยกขึ้นเป็นพระอารามหลวงในปี พ.ศ.2527 ในสมัยรัชกาลที่ 9

Worship the Wat Nongwang Temple, Khon Kaen.

ภายในบริเวณวัดมีพระมหาธาตุแก่นนครเป็นพระธาตุมีลักษณะเก้าชั้นฐานเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมด้านเท่าหรือสี่เหลี่ยมจตุรัส ฐานกว้าง  ด้านละ50 เมตร ตรงส่วนยอดนั้นจำลองแบบมาจากพระธาตุขามแก่นเป็นการสร้างขึ้นในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี และยังเป็นช่วงเวลาที่เมืองขอนแก่นมีอายุครบ 200 ปีด้วย ศิลปะการสร้างเป็นการผสมผสานศิลปะทวาราวดีและศิลปะในแถบอินโดจีนเรียกว่าศิลปะของกลุ่มชาวอีสานตากแห ตัวเรือนก่ออิฐถือปูนประดับทององค์พระธาตุทั้ง 8 ชั้นภายในแต่ละชั้นถูกจัดให้ใช้ประโยชน์ต่างกันไปคือ

Worship the temple worship Wat

ชั้นที่ 1 ใช้เป็นหอประชุมและมีพระสรีรังคารพระพุทธเจ้าในส่วนอุรังคธาตุ หรือส่วนอกประดิษฐานอยู่ รวมถึงพระธาตุเหล่าสาวกประมาณ 100 องค์ประตูและหน้าต่างเป็นศิลปะการแกะสลักเรื่องราวของนิทานพื้นบ้านเรื่องจำปาสี่ต้นเป็น 3 มิติและจิตรกรรมฝาผนังประวัติศาสตร์ของเมืองขอนแก่น

ชั้นที่ 2 เป็นพิพิธภัณฑ์อีสานรวมข้าวของเครื่องใช้และวิถีชีวิตพื้นบ้าน ผนังมีการวาดเรื่องราวเกี่ยวกับ คะลำ คือข้อห้ามตามคติการอบรมสั่งสอนของชาวอีสาน มีทั้งหมด 35 ข้อ บานประตูหน้าต่างเป็นลวดลายเบญจรงค์แกะสลักเรื่องราวนิทานเรื่องสังศิลป์ชัยวิจิตร

ชั้นที่ 3 เป็นหอพระปริยัติหน้าต่างและประตูเขียนลวดลายของเบญจรงค์บอกเล่านิทานนางผมหอมด้วยศิลปะการแกะสลักและเป็นที่รวมตลปัตร พัดยศ ข้าวของของพระครูที่เคารพของอีสานในอดีต

ชั้นที่ 4 เป็นหอปริยติธรรมและรูปเขียนนพระพุทธรูปประจำวันเกิดทั้ง 7 ตัวพึ่ง ตัวเสวย และเทพประจำทิศต่างๆ

ชั้นที่ 5 เป็นหอพิพิธภัณฑ์อัตบริขารของหลวงปู่พระครูปลัดบุษบา สุมโน ซึ่งท่านเป็นอดีตเจ้าอาวาสวัด ประตูหน้าต่างแกะสลักเรื่องราวพุทธชาดก

ชั้นที่ 6 เป็นหออุปัชฌายาจารย์ ส่วนบานประตูและหน้าต่างเป็นศิลปะแกะสลักเรื่องราวพระเวสสันดร

ชั้นที่ 7 เป็นหอเรียกว่าหอพระอรหันต์สาวก หน้าต่างและประตูทุกบานแกะสลักเรื่องราวเตมีย์ใบ้

ชั้นที่ 8 เป็นหอพระธรรม มีการรวบรวมทั้งคัมภีร์สำคัญ พระธรรมและพระไตรปิฎก หน้าต่างและประตูแกะสลักเรื่องราวรูปพรหม 16 ชั้น

ชั้นที่ 9 ซึ่งเป็นชั้นบนสุดเป็นหอพระพุทธ ในส่วนกลางมีบุษบกบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระสัมสมาสัมพุทธเจ้า

วัดหนองแวงอารามหลวงเปิดให้เข้าในเวลา 8 โมงเช้าและปิดไม่ให้คนภายนอกเข้าในเวลา 6 โมงเย็นของทุกวัน