
วัดสันป่ายางหลวง เดิมมีชื่อเต็มว่า (วัดอาพัฒนารามป่าไม้ยางหลวง) ที่ถูกประทานชื่อจาก พระนางจามเทวี ผู้ที่เป็นผู้สร้างและฟื้นฟูวัดแห่งนี้ให้เป็นที่รู้จักและเป็นที่นับถือ ศรัทธา ของชาวบ้านในละแวกนี้มาจนถึงปัจจุบัน ว่ากันว่าแต่เดิมของบริเวณที่แห่งนี้เป็นสัตตมหาสถานของศาสนาพราหมณ์ และเคยเป็นวัดร้างมาอยู่ในช่วงเวลาหนึ่งในยุคเสื่อมศาสนา จนได้พระนางจามเทวีเป็นผู้บูรณะวัดป่ายางหลวงจนชาวบ้านกลับมาเลื่อมใสอีกครั้ง
ต่อมาได้มีพระสงฆ์จากพม่าได้เดินมาเผยแพร่พุทธศาสนาที่นี้จนทำให้ชาวบ้านเลื่อมใสในศาสนา จึงได้เปลี่ยนจากสัตตมหาสถานของศาสนาพราหมณ์มาเป็นวัด ซึ่งแรกเริ่มเดิมทีวัดแห่งนี้มีชื่อว่า “วัดขอมลำโพง” เนื่องจากว่าส่วนใหญ่ของคนในพื้นที่แห่งนี้สมัยก่อนมีแต่ชาวขอม ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อวัดมาเป็นวัดอาพัฒนารามป่าไม้ยางหลวง เพื่อให้สอดคล้องกับสถานที่เพราะในสมัยนั้นที่วัดแห่งนี้มีต้นยางมากมายขึ้นอย่างหนาทึบมาก ส่วนใหญ่ชาวบ้านจะเรียกชื่อวัดนี้สันๆ ว่า วัดสันป่ายางหลวงนั้นเอง
ซึ่งวัดแห่งนี้ติด 1 ใน 5 ของวัดที่สวยที่สุดในประเทศไทยอีกด้วย ซึ่งวัดแห่งนี้เต็มไปด้วยวิจิตรศิลป์ที่มีความละเอียดอ่อนมาก ไม่ว่าจะเป็นเสาร์ ประตู หน้าต่าง ทั้งภายนอกและภายในเต็มไปด้วยลวดลายที่มีความสวยและประณีตเป็นอย่างมาก และมีสิ่งปลูกสร้างมากมาย เช่น อุโบสถ เจดีทอง วิหารพระเขียวโขง และปูนปั้นต่างๆ
ซึ่งวัดแห่งนี้เป็นที่ประดิษฐานพระหยกเขียว ที่ได้นำมาจากแม่น้ำโขง และยังมีพระพุทธรูปองค์ใหญ่คือ พระพุทธเมตไตรย นอกจากนี้ยังมีพระเจดีองค์ใหญ่อยู่ด้านหลังของพระอุโบสถ ตามตำนานที่ได้เล่าขานกันมา ว่ากันว่าได้มีการอัญเชิญ พระสาริยะธาตุกลางกระหม่อมพระอัครสาวกของพระพุทธเจ้านั้นก็คือพระมหาโมคคัลลานะและพระสารีบุตรมาประดิษฐานไว้ที่พระเจดีแห่งนี้ ซึ่งภายในของพระอุโบสถที่วัดสันป่ายางหลวงจะมีภาพเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาพระเวสสันดรชาดกชาติภพต่าง และยังมีเครื่องประดับของคนในสมัยก่อนเป็นมรกตและอัญมณีต่างๆ ให้ได้ชม วัดแห่งนี้มีกุฏิของพระสงฆ์ที่ทำจากไม้สักทั้งหลัง โดยทางวัดยังมีรถนั่งนำเที่ยวบริเวณรอบๆ วัดให้อีกด้วย สำหรับคนที่ขาไม่ค่อยดีเดินเหินลำบาก